ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม :002 Phra Somdej Wat Rakang,大字體,佛像 穿過拱門


มหาเวทย์  



Tananichit Janto  

  Tananichit Janto
ID : 08767864051


 0876786405

 013-1-19087-5 นาย ธนนิชิศ จันทร์โท

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม : 002
Phra Somdej Wat Rakang,大字體,佛像    穿過拱門akang,大字體,佛像    穿過拱門


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม : 002
พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม

พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม
พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เป็นพระเครื่องที่มีผู้นิยมสูงสุดในประเทศไทย และนักนิยมสะสมพระเครื่องทั่วประเทศต่างยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ์แห่งพระ เครื่อง จึงทำให้นักนิยมพระเครื่องทั้งเก่าและใหม่ต่างอยากได้ พระสมเด็จวัดระฆังฯ มาไว้ครอบครองบูชากันทุกท่าน
ประวัติวัดระฆังโฆษิตารามโดยย่อ
วัดระฆังโฆษิตารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดบางหว้าใหญ่” มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีพระราชวังไม่ไกลจากวัดบางหว้าใหญ่ ทรงปฏิสังขรณ์และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง อีกทั้งได้อาราธนา พระอาจารย์ศรี ให้มาครองวัดนี้และทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) มาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเจ้านายในวังหลัง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) ก็ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่
ได้มีการขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงดังไพเราะจึง ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆษิตาราม” ต่อมาถึงรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดราชกัณฑิยาราม” ซึ่งผู้คนไม่นิยมเรียก (คงจะเรียกยากและจำยาก) จึงยังคงเรียกกันว่า “วัดระฆังโฆษิตาราม” มาจนทุกวันนี้ วัดระฆังฯ มีพระราชาคณะที่สร้างพระเครื่องเป็นที่นิยมถึง 3 องค์ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) หรือ “สมเด็จปิลันทน์” และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ในบทความนี้จะเสนอเรื่อง พระพิมพ์ พระสมเด็จฯ สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ของวัดระฆังโฆษิตาราม อันเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับ 1 ของประเทศไทย
ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 เวลาย่ำรุ่ง ที่ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อเกศ บิดาไม่ปรากฎนาม ว่ากันว่ามารดาท่านเป็นชาวบ้านตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บิดาท่านอาจจะเป็นชาวเมืองกำแพงเพชรก็ได้ เพราะมีบันทึกเขียนว่า “ปีระกา จุลศักราช 1211 (พ.ศ.2391) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง กรุงเทพฯ ขึ้นมา เยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชร” ซึ่งแสดงว่าท่านมีญาติเป็นชาวเมืองกำแพงเพชร สมเด็จฯ ท่านเกิดในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านมีอายุยืนยาวถึง 5 รัชกาล เมื่อครั้งมีการปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 (ปัจจุบันอยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดร) ผู้ปั้นต้องอาศัยผู้ที่เกิดทันและเคยเห็นรัชกาลที่ 1 ซึ่งในขณะนั้นมีเหลือเพียงไม่กี่คน บอกพระลักษณะพระองค์ หนึ่งในนั้นก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ขอประมวลประวัติของท่านโดยย่อในที่นี้ ดังนี้

- เกิด 17 เมษายน พ.ศ.2331
- บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2342 อายุ 12 ที่ วัดสังเวชวิศยาราม มี พระบวรวิริยเถร (อยู่) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชแล้วข้ามไปศึกษาในสำนัก พระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ โดย ท่านเจ้าคุณอรัญญิก วัดอินทรวิหาร เป็นผู้นำไปฝากตัว พ.ศ.2350 อุปสมบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรัชกาลที่ 1 ทรงเป็นนาคหลวง สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ.2395 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระธรรมกิติ”
- พ.ศ.2397 โปรดฯ ให้เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “พระเทพกวี”
- พ.ศ.2407 โปรดสถาปนาเป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์”
- วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 มรณภาพ ชนมายุ 85 ปี

ผู้เรียบเรียงขอให้สังเกตบางประการ ซึ่งผู้คนอาจมองข้ามไปคือ

1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ “พระธรรมกิติ” เป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2395 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในระหว่างรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 (หลังจากสมเด็จฯ บรรพชา พ.ศ.2350 - พ.ศ.2394) ซึ่งเป็นเวลายาวนานร่วม 44 ปี ท่านมิได้มีสมณศักดิ์ใดๆ คงเป็น “ขรัวโต” ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นนิยมเรียกกัน ดังนั้นข้อที่ว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จฯ ท่านหลีกเลี่ยงที่จะได้รับสมณศักดิ์ โดยออกธุดงค์แทบทุกปี จึงเป็นเรื่องที่น่ารับฟัง ต่อเมื่อมาถึงรัชกาลที่ ท่านถึงยอมรับการแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ “พระธรรมกิติ” เป็นสมณศักดิ์แรก ต่อมาเป็น “พระเทพกวี” และ “สมเด็จพุฒาจารย์” ในที่สุด

2. เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามองค์ก่อนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็คือ สมเด็จพระพน (ฤกษ์) ท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ของวัดระฆังฯ มาตั้งแต่ พ.ศ.2373 จนถึงมรณภาพในปลายรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2390 - พ.ศ.2393) จากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ องค์ต่อมา ซึ่งคงจะอยู่ในช่วงรอยต่อรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 ดังนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ องค์ที่เมื่อท่านอายุร่วม 65 ปี แล้ว และครองวัดระฆังฯ ได้ประมาณ 20 ปี จึงมรณภาพในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
การสร้างพระสมเด็จฯ
ตามประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในตอนก่อน จะเห็นได้ว่าท่านเป็นพระที่ไม่ยึดติดในยศศักดิ์และไม่มีภาระในการปกครองวัด ท่านจึงมีเวลาและมีอิสระในการออกธุดงค์เป็นเวลายาวนาน เป็นที่ยอมรับว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ เล่ากันว่าท่านเป็นศิษย์ของ ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงรับสั่งว่าเป็นผู้มีวิชา “เดินตั้งแต่เมืองลพบุรี ลงมาฉันเพลที่กรุงเทพฯ ได้” แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดในเรื่องนี้ส่วนสาเหตุของการสร้างพระสมเด็จฯ นั้นมี 2 กระแส คือ
กระแสแรก ว่ามีพระภิกษุในเมืองเขมรที่มีความนับถือในตัวท่าน อาราธนาขอให้สร้างพระพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อท่านกลับมาจึงสร้างพระสมเด็จฯ ตามที่ถูกร้องขอ ในเรื่องนี้น่าสงสัย คือ ในประเทศเขมรหรือกัมพูชานั้นไม่มีคติในการสร้างพระพิมพ์เลย เหตุใดพระภิกษุเขมรที่ว่าจึงมีแนวคิดขอให้ท่านสร้างพระเครื่องได้
อีกกระแสหนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ธุดงค์ไปจังหวัดกำแพงเพชร ในพ.ศ.2391 ได้พบแผ่นศิลาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระพิมพ์ (พระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน ฯลฯ) เมื่อกลับมากรุงเทพฯ (หลังจากนั้นได้กว่า 10 ปี ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นมาแจกชาวบ้าน ในเรื่องนี้น่ารับฟังกว่าเพราะมีบันทึกหลักฐานดังที่ว่า อนึ่ง ตามคำบอกเล่าของ
เจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ลูกศิษย์ของสมเด็จฯ ทราบว่าท่านเริ่มพระพิมพ์ในราว พ.ศ.2409 เมื่อท่านมีอายุ 78 ปี สร้างอยู่ในราว 6 ปี จึงมรณภาพใน พ.ศ.2415
แม่พิมพ์พระสมเด็จฯ
พิมพ์มาตรฐานที่วงการพระยอมรับมีอยู่เพียง 5 พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ใหญ่ สันนิษฐานว่านำรูปแบบมาจากพระประธานสมัยสุโขทัย
2. พิมพ์เจดีย์ มีลักษณะพุทธศิลปสกุลช่างเชียงแสน
3. พิมพ์เกศบัวตูม พุทธลักษณะคล้ายพระเชียงแสนสิงห์
4. พิมพ์ฐานแซม มีพุทธศิลปแบบพระบูชาสมัยอู่ทอง
5. พิมพ์ปรกโพธิ์ มีสองแบบ คือ แบบพิมพ์ฐานแซมกับพิมพ์เกศบัวตูม
ทุกพิมพ์เป็นพิมพ์พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิ มีฐานสามชั้น ไม่ปรากฏรายละเอียด ของพระพักตร์ นับว่าเป็นศิลป์สมัยใหม่คือ เป็นเพียงลายเส้น พระพิมพ์ก่อนหน้านั้นจะให้รายละเอียดมีพระเนตร พระนาสิก ฯลฯ ถือได้ว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ มีพุทธศิลปแบบสมัยใหม่ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกทั้งทำด้วยผงวิเศษซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ (ก่อนหน้านั้นจะทำด้วยดินหรือชิน)
เนื้อพระ
มวลสารของพระสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็นปูนขาว ผสมผงพระพุทธคุณ คือ ผงมหาราช อิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห ฯลฯ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ทำผงกรรมวิธีแบบโบราณ คือ เขียนบนกระดานชนวน เขียนแล้วลบ รวบรวมผงนำมาสร้างพระ นอกจากนี้ยังมีอิทธิวัตถุอื่น เช่น ใบลานเผา ว่าน อิฐหัก ดอกไม้บูชาพระ ฯลฯ ทั้งหมดนำมาโขลกผสมประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อพระไม่เปราะหรือแตกหักง่าย
จำนวนการสร้างและความนิยม
คงจะเป็นการยากที่จะทราบจำนวนการสร้างของพระสมเด็จฯ เพราะท่านสร้างเป็นครั้งเป็นคราว ตามปริมาณวัสดุที่มี และไม่มีผู้นับจำนวนไว้ แต่ท่านสร้างเป็นเวลาราว 6 ปี คือ พ.ศ.2409 - พ.ศ.2415 เจ้าคุณทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ผู้เกิดทันเห็นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้บันทึกเรื่องพระสมเด็จฯ และความนิยมของผู้คนไว้เมื่อ พ.ศ.2473 ความว่า “วันเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มาถึงวัดระฆังฯ (ท่านมรณภาพที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม) พระธรรมถาวร (ช่วง) พระราชาคณะที่มีอายุ 88 ปี มีตัวถึงวันเรียงประวัติเรื่องนี้ ได้ตักพระพิมพ์แจกชำร่วยแก่บรรดาผู้มาส่งศพ สักการะศพ เคารพศพนั้น
แจกทั่วกันคนละองค์สององค์ ท่านประมาณราวสามหมื่นองค์ที่แจกไป และต่อๆ มาก็แจกเรื่อย เดี๋ยวนี้จะหาสักครึ่งองค์ก็ไม่มี มีแต่จำเพาะตนๆ” ความข้างต้นให้ข้อมูลว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีการสร้างจำนวนเป็นหมื่น ไม่ทราบว่าตัวเลขจะถูกต้องหรือไม่ แต่ก็ต้องเป็นจำนวนมากถึงกล่าวไว้เช่นนั้น และเมื่อมาถึง พ.ศ.2473 (วันบันทึกเรื่อง) พระสมเด็จฯ ก็หายากแล้ว “เดี๋ยวนี้จะหาสักครึ่งองค์ก็ไม่มี” แสดงว่าผู้คนนิยมและแสวงหากันมาก เมื่อมาถึงปัจจุบันแทบจะหาดูยังไม่ได้ พระที่สภาพสมบูรณ์มีราคาหลายล้านบาท ถือว่าเป็นพระเครื่องที่มีราคาสูงที่สุดของวงการ ท่านผู้มีฐานะดีระดับเศรษฐีเท่านั้นถึงจะมีไว้ครอบครองได้
ข้อสังเกตและลักษณะในการศึกษาและเรียนรู้การดูพระสมเด็จเบื้องต้น
1. การสังเกตและจดจำ พิมพ์-ทรง-ความคม-ลึก ของพระสมเด็จในแต่ละพิมพ์ เช่น การจดจำพุทธลักษณะของพระเกศ พระพักตร์ การวางวงแขน การประทับนั่ง ซ้อนขา ฐานขององค์พระ เส้นซุ้มบนขอบกระจก เพราะพระในแต่ละพิมพ์จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไป ขนาดขององค์พระที่เป็นองค์จริง (พระแท้) ของพระในแต่ละพิมพ์ ซึ่งพระในพิมพ์เดียวกันมักมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเรื่องของความหนา-บางของพระ หรือความสูง-ความกว้างขององค์พระ คิดว่าคงเกิดจากการใช้เนื้อวัสดุในการสร้างพระ และการตัดขอบพระมากน้อยไม่เท่ากันทุกองค์
2. การสังเกตและดูด้านหลังองค์พระ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังในแต่ละพิมพ์ การดูลักษณะการทำงานด้านหลังขององค์พระ และพระใน แต่ละพิมพ์ก็จะมองเห็นการทำงานไว้หลายลักษณะ เข้าใจว่าเกิดจากการใช้วัตถุช่วยในการกดเนื้อพระลงบนพิมพ์พระ จึงทำให้เห็นลักษณะด้านหลังองค์พระเป็นเอกลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการ พิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ต่างๆ
3. การสังเกตดูรอยการตัดขอบ ขององค์พระทั้ง 4 ด้านของพระในแต่ละพิมพ์ (สังเกตจากภาพ)
4. สังเกตดูลักษณะพื้นผิวขขององค์พระ เช่นการส่องดูลักษณะความแห้งแล้งของพื้นผิวพระและเนื้อพระ รอยปิ รอยแยกบนพื้นผิวขององค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การยุบและการหดตัวขององค์พระ ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งของเนื้อพระ ที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีโดยเป็นธรรมชาติ
5. สังเกตดูเนื้อหามวลสาร ที่เป็นส่วนผสมขององค์พระ อาจจะสังเกตได้จาก พื้นผิวด้านหน้า-ด้านหลัง-ขอบข้างขององค์พระ (ในองค์พระที่ผ่านการใช้มามากและเสียผิวก็จะสามารถมองเห็นมวลสารได้มากกว่า องค์พระที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่ผ่านการใช้)สิ่งที่กล่าวถึงมานี้คงต้องใช้ ประสบการณ์ในการศึกษาและการเรียนรู้จากการได้ดูองค์พระจริงๆ (พระแท้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของวงการพระ) เป็นเวลานานพอสมควรจึงจะค่อยๆ พัฒนาให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น หลักการที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางในการศึกษาและเรียนรู้เบื้องต้นเท่า นั้น
​มวลสารหลักที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง สูตรของสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรํสี)

จากบันทึกคำบอกเล่าของหลวงวิจารณ์เจียรนัย(โกเฮง)ที่ให้ไว้กับ โกเลี่ยง (หลาน) เมื่อปี พ.ศ. 2452 และคำบอกเล่าทั้งหมดได้ตกทอดมาถึง      โกสิน (เหลน) ในปี พ.ศ. 2502 จวบจนถึงปัจจุบันนี้ สรุปมวลสารทั้งหมดที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมฺรํสี) ปลุกเสกใช้สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง มีดังต่อไปนี้

1.ปูนเปลือกหอย  หมายถึงการนำเปลือกหอยที่ได้จากทะเลมาเผาไฟ แล้วนำไปตำให้ละเอียด นำไปล่อนด้วยตะแกงทองคำให้ได้ผงที่ละเอียด ผสมกับน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าประคุณสมเด็จโตฯ ท่านจัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อให้จับตัวกันเป็นปูนเปลือกหอย

2.อิฐแดง หมายถึง เศษอิฐต่างๆที่นำมาจากเจดีย์เก่า กำแพงวัดเก่าที่ผุพัง พระกำแพงซุ้มกอ ตามเส้นทางที่เจ้าประคุณสมเด็จโตฯได้ธุดงค์ผ่านไป ได้แก่วัดต่างๆ เช่น วัดกำแพง วัดพระนอน วัดสะตือ และวัดอื่นๆเป็นต้น รวมทั้งตะไคร้น้ำที่ติดมากับก้อนอิฐแดงบางก้อน แล้วนำไปบดให้ละเอียด ล่อนด้วยตะแกงทองคำอีกครั้งเพื่อให้ได้ผงที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น

3.ผงพุทธคุณ หมายถึงการนำใบลานเก่าที่เจ้าประคุณสมเด็จโตฯได้เขียนคาถาต่างๆไว้ในใบลานนั้น นำไปทำการเผาด้วยไฟ ผสมกับดอกไม้แห้งต่างๆที่ท่านนำไปบูชาพระแล้วนำไปบดให้ละเอียด ซึ่งจะปรากฏเป็นจุดดำๆบนเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง

4.ผงกฤติยาคม หมายถึงการนำเม็ดขนมต้มที่นำไปตากแดดแล้วนำไปบดให้ละเอียดผสมกับข้าวสุกที่ญาติโยมนำไปถวายให้ท่านฉัน ซึ่งจะปรากฏเป็นสีขาวขุ่นบนองค์พระสมเด็จวัดระฆัง

5.ผงอิทธิเจ หมายถึง การนำเอาเทียนชัยที่เหลือจากการผ่านพิธีกรรมต่างๆมาแล้วนำไปผสมกับชอลค์เพื่อใช้เขียนพระคาถาชินบัญชร ลงในใบลานแล้วนำไปลูบเอาผงที่เขียนพระคาถานั้นมาเป็นมวลสาร

6.ผงตะไบเงิน ผงตะไบทอง จะปรากฏเห็นเป็นสีเงินสีทองสะท้อนแสงบนองค์พระสมเด็จวัดระฆัง

7.แป้งทาหน้างิ้ว จะปรากฏให้เห็นเป็นสีขุ่นๆ เช่นสีฟ้าคราม สีเขียว สีแดง เป็นต้น

8.หินฟันม้า จะปรากฏให้เห็นเป็นสีขาว

9.ว่านตรีนิสิงห์เห จะปรากฏให้เห็นเป็นสีเหลืองขมิ้น มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตา ด้านมหานิยม ด้านแคล้วคลาดจากภัยพิบัติอันตรายต่างๆทั้งปวง

10.ว่านสบู่เลือด จะปรากฏให้เห็นเป็นสีแดง มีพุทธคุณโดดเด่นด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี

11.น้ำอ้อยเคี่ยว ใช้สำหรับประสานมวลสาร

12.น้ำมันตังอิ้ว จะปรากฏให้เห็นเป็นสีเหลืองค่อนข้างมัน (ใช้สำหรับประสานมวลสาร)

13.เม็ดลูกปัดหลากสี ทำจากหิน พลอย นำไปบดให้ละเอียด จะปรากฏให้เห็นเป็นสีต่างๆ ขุ่นๆ ขาวๆ สุกใสกว่าสีแป้งทาหน้างิ้ว

14.มวลสารพิเศษ ได้จากการอธิษฐานจิต ได้แก่องค์เม็ดพระบรมสารีริกธาตุมีสีขาวใส สีขาวขุ่นออกเขียว เหล็กไหลปีกแมลงทับสีดำมันวาว เหล็กไหลเงินยวงสีเงิน

ความคิดเห็น

TJ STUDIOOO

TJ TananichitJanto STUDIO มหาเวทย์

TJ STUDIO มหาเวทย์ พระสมเด็จวัดระฆัง/บางขุนพรอม/เกศไชโย/พระเครื่องเครื่องรางของขลังทุกวัด Phra Somdej Wat Rakhang / Bang Khun Prom / Ket Chaiyo / amulet, talisman, talisman every temple Phra Somdej Wat Rakhang /邦坤舞會/ Ket Chaiyo /護身符,護身符,護身符每個寺廟 Tananichit Janto      T ananichit Janto ID 08767864051   0876786405   013-1-19087-5   นาย ธนนิชิศ จันทร์โท พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม Phra Somdej Wat Rakang Khositaram                  พระหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน